เบื้องต้นกับทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาในความหมายอย่างกว้าง
หมายถึงการสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ซึ่งแสดงออก
ในรูปแบบใดก็ตามทรัพย์สินทางปัญญานี้อาจเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้
เช่น ความคิด แนวคิด กรรมวิธี
ลิขสิทธิ์ นาฏกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ทรัพย์สินทางปัญญายังอาจปรากฏในรูปแบบที่จับต้องได้
เช่นการประดิษฐ์ สินค้า หรือสื่อรูปแบบอื่นที่จับต้องได้
นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญายังอาจรวมถึงความรู้ การค้นพบ
หรือการสร้างสรรค์อีกด้วย จะเห็นได้ว่า
ความหมายอย่างกว้างของทรัพย์สินทางปัญญานี้เน้น
ที่ผลผลิตของสถิตปัญญาและความชำนาญของมนุษย์
โดยไม่ได้คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์
หรือวิธีการสร้างสรรค์หรือวิธีการในการแสดงออกแต่อย่างใด
ทรัพย์สินทางปัญญาในความหมายอย่างแคบนั้นถูกนิยามขึ้นเพื่อสนองตอบนโยบาย
ทรัพย์สินทางปัญญาจะถูกจำแนก เป็นประเภทต่าง ๆ ตามผลผลิตทางปัญญา
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ นโยบายของรัฐ ประโยชน์ในทางสังคม
และเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ
ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กำหนดรับรอง
และให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน
นโยบายของรัฐเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท
บัญญติไว้ภายใต้กฏหมายไม่ว่าจะเป็นกฏหมายที่บัญญติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือกฏหมายจารีตประเพณี
ตามแต่ระบบ กฎหมายของประเทศนั้น ๆ
จะเห็นได้ว่าความหมายอย่างแคบของทรัพย์สินทางปัญญานี้กำจัดอยู่ที่การสร้างสรรค์
ของมนุษย์ที่กฏหมายรับรองไว้เท่านั้น
ทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้เสมอ
ซึ่งถือเป็นสิทธิในทรัพย์สินนั้นเองสิทธิในทางทรัพย์สินนี้
ถูกจัดว่าเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิในทรัพย์สินนื่องจากผลทางปัญญาเป็นผลโดยตรงมาจากกำลังที่ทุ่มเททั้งหมดซึ่งสามารถ
ประเมินค่าในทางเศรษฐกิจได้
ไม่ว่ากำลังนั้นจะเป็นการลงทุนทางการเงิน แรงงาน เวลา ฯลฯ
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิทั้งหลายซึ่งให้แก่บุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กฏหมายบัญญติไว้
อธิบายอย่างง่าย ๆ ได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นสิทธิต่าง ๆ
แต่เพียงผู้เดียวที่ผู้สร้างสรรค์จะกระทำการบางอย่างเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ของตน
ในทางทฤษฎี ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิ
ในการป้องกันมิให้ผู้อื่นมากระทำการใด ๆ
อันเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์แก่งานสร้างสรรค์
รวมตลอดถึงสิทธิในการบังคับสิทธิตามกฎหมาย (ท่านสามารถศึกษารายละเอียดทางกฏหมาย company registration Thailand เพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ tilalegal.com) แก่ผู้ละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ด้วยแนวความคิดนี้มีความสำคัญมากเพราะจะต้องใช้ในการให้คำตอบว่าผู้ทรงสิทธิกระทำอย่างไรบ้างต่องานสร้างสรรค์ทางปัญญาของตน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
การที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิกระทำการอย่างไรบ้างต่อบุคคลซึ่งละเมิดสิทธิของตนเป็นสิ่งสำคัญมาก
มิฉะนั้นระบบของทรัพย์สินทางปัญญาก็จะประสบความล้มเหลว
นอกจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์แล้ว
ระบบกฎหมายอาจให้สิทธิคนอื่น ๆ ในทางทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย
ในบางประเทศกฎหมายอาจบัญญัติให้สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนและธรรมสิทธิ
สิทธิประเภทแรก คือ
สิทธิของผู้ทรงสิทธิในการได้รับค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่นอกเหนือจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการห้ามใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
สิทธินี้ไดรับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินักแสดง
ส่วนสิทธิประเภทหลังนั้น
ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ธรรมสิทธิในการขอให้ชื่อของตนเองปรากฎในงานที่มีการโฆษณาหรือในการห้ามมิให้มีการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงงานอันเป็นการเสียหายแก่เกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์
แม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาจะมีอยู่เมื่อผลผลิตทางปัญญาได้สร้างสรรค์ขึ้น
แต่มีข้อสังเกตุว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นแยกต่างหากจากกกรรมสิทธิ์ในสื่อแห่งผลผลิตทางมรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้สิทธิบัตรในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมือ
เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
มีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์
แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ
ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงลิขสิทธิ์
หรือผู้ทรงสิทธิบัตร
เจ้าของหนังสือไม่สามารถทำซ้ำหนังสือโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์
เนื่องจากบิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์
ผู้ซื้อเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถผลิตเครื่องมือที่มีสิทธิบัตรได้
เพราะสิทธิในการผลิต กรรมวิธี
หรือสินค้าที่ได้รับสิทธิบัตรเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิบัตร
หลักเกณฑ์ในการแยกต่างหากจากกันนี้ใช้กับทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท
กฎเกณฑ์นี้ยังใช้กับกรณีที่สื่อจับต้องได้ของทรัพย์สินทางปัญญา
เช่น หนังสือ สิ่งบันทึกเสียง เครื่องมือที่ได้รับสิทธิบัตร
สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าอยู่ในความครอบครองของบุคคลเป็นระยะเวลานาน
ระบบกฎหมายอาจทำให้บุคคลได้มาซึ่งสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์
โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งคือการครอบครองทรัพย์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
เนื่องจากสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาแยกกต่างหากจากสิทธิในสื่อการแสดงออกการครอบครองสื่อซึ่งอาจจะทำให้ได้มาซึ่งอาจจะทำให้ได้มาซึ่งทรัพย์นั้น
ไม่ทำให้ผู้ครอบครองได้มาซึ่งในทรัพย์สินทางปัญญา
|