IP Thailand
 

ทรัพย์สินทางปัญญา

FRANCHISE TIP : เลือกซื้อแฟรนไชส์อย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก ?

การลงทุนในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างธุรกิจได้ง่ายกว่า เนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ที่มีคุณภาพ ย่อมมีระบบจัดการบริหารสมบูรณ์สามารถการันตีความสำเร็จได้ระดับหนึ่ง
       
       อย่างไรก็ตาม มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่แอบอ้างคำว่าแฟรนไชส์ไปใช้ในทางไม่ ทำให้เมื่อไปร่วมลงทุนด้วย ก็ต้องพบกับความล้มเหลว ดังนั้น ขอนำเสนอข้อมูลความรู้ เพื่อเป็นหลักในการจะตัดสินใจจะลงทุนซื้อแฟรนไชส์ใด

       
       ***************************
       
       1.สำรวจร้านถ้าคุณคิดว่ากำลังจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่า ร้านแฟรนไชซี่ หรือผู้ที่ซื้อธุรกิจนี้ก่อนหน้านี้ เป็นใคร และอยู่ที่ไหนกันบ้าง และลงสนามสำรวจร้านจริงที่มีอยู่แล้วว่า พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง และทำกำไรได้จริงหรือไม่ เพื่อศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อให้คุณมีความพร้อมเต็มที่ที่จะทำธุรกิจนั้นให้สำเร็จ
       
       และมีคำถามสำหรับแฟรนไชซี่ที่คุณควรถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การลงทุนธุรกิจนี้ คุณภาพสินค้าที่ขายนี้ ดีไหม ลูกค้านิยมไหม ? สินค้าที่บริษัทแม่จัดให้ ส่งทันไหม และเพียงพอหรือไม่ ? อะไรคือปัญหาของธุรกิจนี้ ? ร้านของคุณทำกำไรได้หรือไม่ ?
       
       2. สำรวจตนเอง สิ่งที่ผิดมากที่สุดในเรื่องของแฟรนไชส์ก็คือ คนส่วนมากเข้าใจผิดว่า การซื้อแฟรนไชส์ เป็นการเอาเงินมาลงทุน แล้วบริษัทแม่จะต้องช่วยทำให้กิจการนั้นจนได้ผลกำไร โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์คอยรับผลตอบแทน
       
       นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจกันมากจริงๆ ทำให้คนตกเป็นเยื่อ ของการระดมเงิน ซึ่งไม่ใช่วิธีการของแฟรนไชส์
       
       ต้องจำไว้ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ต้องลงมือทำเองหรือบริหารเองเท่านั้น ธุรกิจจึงจะมีกำไร การที่กิจการหนึ่งเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว และขายระบบงานที่ประสบความสำเร็จนี้ให้คนอื่นทำบ้าง ดังนั้นการจะทำแฟรนไชส์ให้ได้เงิน จึงขึ้นกับการทำงานตามระบบงาน โดยมีบริษัทแม่เป็นผู้สนับสนุน
       
       3. สำรวจบริษัท บริษัทแม่มีตัวตนจริงหรือไม่ กิจการที่อาศัยเรื่องของแฟรนไชส์มาระดมเงิน มีเกิดขึ้นเสมอ กิจการเหล่านั้น มักเพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน บางรายไม่มีตัวตนด้วยซ้ำ วิธีการเลือกบริษัท แฟรนไชส์ที่ดี ที่คุณสมควรเข้าร่วมธุรกิจด้วย ควรมีลักษณะดังนี้
       
       - มุ่งหวังเป็นอันดับ 1 แฟรนไชส์ที่คุณเลือกนั้น ควรมีเป้าหมาย ต้องการเป็นผู้นำการตลาด ซึ่งมันจะทำให้คุณได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะบริษัทเหล่านี้จะกระตือรือร้นในการทำการตลาด การโฆษณา เพื่อทำให้ได้ส่วนแบ่งการขายสูงสุดของประเทศ โดยมีคุณเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ถึงเป้า
       
       - ความชำนาญในธุรกิจ เพราะการซื้อแฟรนไชส์ เป็นการซื้อระบบที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นกิจการที่จะมาขายแฟรนไชส์ได้ ควรต้องช่ำชองในธุรกิจนั้นๆมากพอ
       
       - อายุธุรกิจ กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ควรมีอายุแก่พอ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้คุณได้รับความรู้จากการลองผิด-ลองถูกมาแล้ว และควรจะมีระยะเวลาในการขยายร้านสาขาของตัวเอง เพื่อเป็นบทเรียนในการบริหารร้านแฟรนไชส์ได้จริงๆ
       
       - มีอำนาจในการต่อรอง ที่จะเอื้อประโยชน์ในสิ่งที่คุณทำไม่ได้ อย่างเช่น การเช่าสถานที่ หรือส่วนลดราคาสินค้ากับซัพพลายเออร์ และถ้าถึงขนาดมีเครดิตในการช่วยเหลือคุณในกู้เงินธนาคารก็จะดีมาก
       
       - ผู้บริหารมีความสามารถ คุณอาจจะต้องรู้ประวัติของผู้บริหารบ้างว่า มีประวิติส่วนตัวเป็นอย่างไร ทั้งด้านลักษณะนิสัย และความสามารถในการบริหารธุรกิจ คุณเชื่อไหมว่า แฟรนไชส์ที่ล้มเหลว ส่วนใหญ่ มาจากผู้บริหารเอาเงินไปใช้ผิดประเภท
       
       - มีทีมงานสนับสนุน คุณต้องมั่นใจว่า มีทีมงานสนับสนุน
       ร้านเครือข่าย โดยได้รู้ว่า จะมีใครทำหน้าที่อะไรบ้าง อย่างไร คุณจะต้องมั่นใจได้ว่า ทีมงานนั้น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความพร้อม และมีความเป็นมืออาชีพ
       
       - สินค้ามีตลาด ต้องขายสินค้าที่มีลูกค้านิยมมากพอ และสามารถสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่สินค้าที่ขายได้เฉพาะบางช่วงเวลา ไม่เป็นสินค้าแฟชั่น หรือขายสินค้าที่มีคู่แข่งมากเกินไป
       
       - มีระบบ แฟรนไชส์ที่ดี ควรมีระบบงานที่ดี หรืออย่างน้อยต้องมีโปรแกรมการอบรม เพื่อถ่ายทอดธุรกิจมาสู่คุณอย่างอย่างง่าย และได้ผล มีการจัดทำคู่มือการทำงาน ในด้านต่างๆ ที่ช่วยให้คุณใช้บริหารงานได้
       
       - เป็นเจ้าสิทธิ์ ที่ถูกต้อง ก่อนที่คุณจะลงลายเซ็นต์ คุณต้องแน่ใจว่า บริษัทนั้นเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างถูกต้อง ในกรณีที่กิจการนั้นซื้อสินค้าจากที่อื่นมาอีกต่อหนึ่ง เช่นร้านสินค้าแบรนด์แนมต่างๆ ที่คุณควรเห็นหลักฐานว่า กิจการนั้นได้รับการอนุญาตการเป็นตัวแทนที่ถูกต้อง
       
       4. ตรวจสถานะของบริษัท จากการจดทะเบียนบริษัท จากเว็ปของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดูว่า บริษัทแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีใครบ้างเป็นผู้ถือหุ้น และทุกปี ทุกบริษัทต้องมีการส่งงบดุล และงบกำไร-ขาดทุน (ยกเว้นกิจการประเภทที่ไม่ต้องจ่ายภาษี เช่น สถานศึกษา เป็นต้น) นี่เป็นหลักฐานที่ดี ที่คุณจะรู้สภาพว่า บริษัทแฟรนไชส์นั้น มีฐานะทางการเงินอย่างไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร
       
       5. เรื่องคืนทุนเป็นเรื่องโกหก การพูดถึงการคืนทุนนั้นเป็นเรื่องโกหก เพราะไม่มีใครที่จะรู้ล่วงหน้าในเรื่องของอนาคตได้ แม้ว่าอาจจะมีตัวอย่างความสำเร็จมากมายมาให้คุณเห็นก็ตาม ในสหรัฐ มีกฎหมายที่กำหนดว่า การชักชวนคนซื้อแฟรนไชส์ด้วยการบอกเรื่องการคืนทุนนี้ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
       
       และ สุดท้าย คือ 6. มีที่ปรึกษาทางกฏหมาย Law firm in Thailand
       
       การเลือกซื้อแฟรนไชส์ไม่ให้ถูกหลอก ถ้าคุณทำตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ไม่มีใครมาหลอกคุณได้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามแฟรนไชส์ในบ้านเรา ถ้าจะให้สมบูรณ์แบบทั้งหมด อาจจะมีน้อยราย ซึ่งอาจทำให้คุณเสียโอกาสทางธุรกิจไปเหมือนกัน
       
       เรียบเรียงจาก : งานเขียนของ "สมจิตร ลิขิตสถาพร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์ โฟกัส จำกัด

 

Home